วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชากฎหมายพาณิชย์

เรื่อง "สัญญา"


สัญญา
เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการตกลงระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไปทำให้เกิดมีความเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ มีหน้าที่ต่อกัน
ประเภทของสัญญา
          1. สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน
          2. สัญญามีค่าตอบแทนกับสัญญาไม่มีค่าตอบแทน
          3. สัญญาประธานกับสัญญาอุปกรณ์
          4. สัญญาเพื่อประโยชน์ของผู้คนภายนอก
          5. เอกเทศสัญญากับสัญญาไม่มีชื่อ
สิทธิในการบอกเลิกสัญญา
          1. สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
          2. สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา
ผลของการบอกเลิกสัญญา
          1. คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
          2. การเลิกสัญญาไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเรียกเอาค่าเสียหาย
มาตราที่น่าสนใจ 
          มาตรา 359 ในสัญญาต่างตอบแทนนั้นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมรับชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือ ขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ แต่ความข้อนี้มิให้ใช้บังคับ ถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ถึงกำหนด
มาตรา 370 ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิได้ การสูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้
สัญญาขายฝาก
          สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขายฝากโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อฝากโดยผู้ซื้อฝากตกลง จะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขายฝากและมีข้อตกลงเพิ่มเติมว่าผู้ขาย ฝากอาจไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้
ลักษณะของสัญญาขายฝาก
          1. เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
          2. มีข้อตกลงให้ผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้
แบบของสัญญาขายฝาก
          ถ้าเป็นการขายฝากทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ด้วย มิฉะนั้นสัญญาจะตรงเป็นโมฆะ
ระยะเวลาในการใช้สิทธิไถ่คืน
          ในสัญญาขายฝาก คู่สัญญาจะตกลงกันกำหนดระยะเวลาไถ่ไว้ นานเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายที่วางไว้ ดังนี้
          1. ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้น คู่กรณีจะกำหนดระยะเวลาไถ่คืน ไว้เกินกว่า 10 ปีไม่ได้
          2. ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ คู่กรณีจะกำหนดระยะเวลาไถ่คืนไว้เกิน กว่า 3 ปีไม่ได้
          3. ถ้าผู้กรณีกำหนดระยะเวลาไถ่คืนไว้เกินกว่า 10 ปีหรือ 3 ปี ก็ ต้องลดลงมาเหลือ 10 ปีหรือ 3 ปีตามประเภทของทรัพย์สินไถ่ ราคาไถ่ถอนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ราคาซื้อคืนซึ่งจะต้อง เป็นเงินตราเท่านั้น
มาตราที่น่าสนใจ
          มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้นคือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ
โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้น คืนได้
มาตรา 494 ห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้น เวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
           - ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กำหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย
           - ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กำหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย
มาตรา 495 ถ้าในสัญญามีกำหนดเวลาไถ่เกินไปกว่านั้น ให้ ลดลงมาเป็นสิบปีและสามปีตามประเภททรัพย์ 
มาตรา 496 กำหนดเวลาไถ่นั้นอาจทำสัญญาขยายกำหนดเวลา ไถ่ได้ แต่กำหนดเวลาไถ่รวมกันทั้งหมด ถ้าเกินกำหนดเวลาตาม
มาตรา 494 ให้ลดลงมาเป็นกำหนดเวลาตามมาตรา 494
มาตรา 499 สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กำหนดกันไว้ว่าเท่าใด ให้ไถ่ ตามราคาที่ขายฝาก
ถ้าปรากฎในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูง กว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคา ที่ขายฝากที่แท้จริง รวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น