วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชาการประยุกต์คอมพิวเตอร์กับงานสถิติ

วิชาการประยุกต์คอมพิวเตอร์กับงานสถิติ

"สถิติ"

ความหมายของสถิติ
          
      สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น สถิติที่แสดงปริมาณน้ำฝน สถิติอุบัติเหตุ สถิตินักเรียน จำนวนผู้ป่วยเป็นเอดส์ของจังหวัดสุโขทัย
      สถิติ หมายถึง ศาสตร์ หรือหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติที่ว่าด้วย
        1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
        2. การนำเสนอข้อมูล
        3. การวิเคราะห์ข้อมูล
        4. การตีความหมายข้อมูล

ประเภทของข้อมูล
      1. ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากแหล่งที่มาโดยตรง เช่น การสัมภาษณ์ การวัดการจดข้อมูลจากการทดลอง ฯลฯ ซึ่งทำได้ 2 วิธี คือ
        1.1 การสำมะโน คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกๆหน่วยของประชากรหรือเรื่องที่เราต้องการศึกษา
        1.2 การสำรวจจากข้อมูลตัวอย่าง เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เช่น การสำรวจความพึ่งพอใจในการทำงานของรัฐบาล การศึกษาพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นของไทย ฯลฯ เราเพียงสุ่มตัวอย่างให้มากพอในการศึกษาเท่านั้นไม่ได้ให้คนไทยทั้งประเทศ เป็นคนตอบคำถาม
        หมายเหตุ! การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ นิยมใช้แบบสัมภาษณ์ การสอบถาม การทดลอง การสังเกตุจากแหล่งข้อมูลโดย ตรง โดยไม่มีผู้ใดรวบรวมไว้ก่อน
      2. ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูล ที่ถูกรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้วตามแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น รายงานการส่งออก รายงานจำนวนนักเรียนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย รายงานอุบัติเหตุบนท้องถนนของปี 2553 เป็นต้น

ลักษณะของข้อมูล

      ลักษณะของข้อมูลแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
        1. ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่ใช้แทนขนาดหรือปริมาณ ซึ่งสามารถออกมาเป็นตัวเลขได้เลย เช่น จำนวนนักเรียนระดับ ปวช.1 - ปวช. 3 มีจำนวน 950 คน ปริมาณการผลิตมันสำปะหลังของปี 2549 คะแนนสูงสุดของการสอบวิชาสถิติของนักศึกษาระดับ ปวส.
        2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้โดยตรง เช่น เพศ สถานภาพการสมรส วุฒิการศึกษา ความคิดเห็น เช่น ชอบมากที่สุด ชอบปานกลาง ไม่ชอบ เป็นต้น

ประเภทของสถิติ

      นักคณิตศาสตร์ได้แบ่งสถิติในฐานะที่เป็นศาสตร์ออกเป็นสาขาใหญ่ ๆ 2 สาขาด้วยกัน คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการอนุมานเชิงสถิติ หรือ สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ซึ่งแต่ละสาขามีรายละเอียดดังนี้
        1.สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) หมายถึง การบรรยายลักษณะของข้อมูล (Data) ที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมจากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่สนใจ ซึ่งอาจจะแสดงในรูป ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวน เป็นต้น
        2.สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) หมายถึง สถิติที่ว่าด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาจากกลุ่มตัวอย่าง เพื่ออธิบายสรุปลักษณะบางประการของประชากร โดยมีการนำทฤษฎีความน่าจะเป็นมาประยุกต์ใช้ สถิติสาขานี้ ได้แก่ การประมาณค่าทางสถิติ การทดสอบสมมุติฐานทางสถิติ การวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ เป็นต้น

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ สถิติ

      1. ประชากร (population) หมายถึง กลุ่มที่มีลักษณะที่เราสนใจ หรือกลุ่มที่เราต้องการจะศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เปรียบเหมือนเอกภพสัมพัทธ์ในเรื่องเซต
      2. กลุ่มตัวอย่าง (sample) หมายถึง ส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากรที่เราสนใจ ในกรณีที่กลุ่มประชากรที่จะศึกษานั้นเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ เกินความสามารถหรือความจำเป็นที่ต้องการ หรือเพื่อประหยัดในด้านงบประมาณและเวลา สามารถศึกษาข้อมูลเพียงบางส่วนของกลุ่มประชากรได้
      3. ค่าพารามิเตอร์ หมายถึง ค่าต่างๆที่คำนวณมาจากกลุ่มประชากร จะถือเป็นค่าคงตัว กล่าวคือ คำนวณกี่ครั้งๆก็จะไม่เปลี่ยนแปลง
      4. ค่าสถิต หมายถึง ค่าต่างๆที่คำนวณมาจากกลุ่มตัวอย่าง จะเป็นค่าที่เปลี่ยนแปลงได้ตามกลุ่มตัวอย่างที่เลือกสุ่มมา จึงถือว่าเป็นค่าตัวแปรสุ่ม
      5. ตัวแปร ในทางสถิติ หมายถึง ลักษณะบางอย่างที่เราสนใจ ค่าของตัวแปร อาจอยู่ในรูปข้อความ หรือตัวเลขก็ได้
      6. ค่าที่เป็นไปได้ หมายถึง ค่าของตัวแปรที่อาจจะเกิดขึ้นได้จริง
      7. ค่าจากการสังเกต หมายถึง ค่าที่เก็บรวบรวมได้มาจริงๆ

โครงการ

 โครงการ








เกียรติบัตร


เกียรติบัตรโครงการปฏิบัติธรรมภาคฤดูร้อน ตำหนักพระแม่กวนอิมโชคชัย 4


เกียรติบัตรสอบไล่ได้ธรรมศึกษาชั้นตรี


ครูในดวงใจ


อาจารย์ประจำสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ






ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น

"โปสเตอร์เศรษฐกิจพอเพียง"


วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชากฎหมายพาณิชย์

เรื่อง "สัญญา"


สัญญา
เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการตกลงระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไปทำให้เกิดมีความเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ มีหน้าที่ต่อกัน
ประเภทของสัญญา
          1. สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน
          2. สัญญามีค่าตอบแทนกับสัญญาไม่มีค่าตอบแทน
          3. สัญญาประธานกับสัญญาอุปกรณ์
          4. สัญญาเพื่อประโยชน์ของผู้คนภายนอก
          5. เอกเทศสัญญากับสัญญาไม่มีชื่อ
สิทธิในการบอกเลิกสัญญา
          1. สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
          2. สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา
ผลของการบอกเลิกสัญญา
          1. คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
          2. การเลิกสัญญาไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเรียกเอาค่าเสียหาย
มาตราที่น่าสนใจ 
          มาตรา 359 ในสัญญาต่างตอบแทนนั้นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมรับชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือ ขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ แต่ความข้อนี้มิให้ใช้บังคับ ถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ถึงกำหนด
มาตรา 370 ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิได้ การสูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้
สัญญาขายฝาก
          สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขายฝากโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อฝากโดยผู้ซื้อฝากตกลง จะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขายฝากและมีข้อตกลงเพิ่มเติมว่าผู้ขาย ฝากอาจไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้
ลักษณะของสัญญาขายฝาก
          1. เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
          2. มีข้อตกลงให้ผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้
แบบของสัญญาขายฝาก
          ถ้าเป็นการขายฝากทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ด้วย มิฉะนั้นสัญญาจะตรงเป็นโมฆะ
ระยะเวลาในการใช้สิทธิไถ่คืน
          ในสัญญาขายฝาก คู่สัญญาจะตกลงกันกำหนดระยะเวลาไถ่ไว้ นานเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายที่วางไว้ ดังนี้
          1. ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้น คู่กรณีจะกำหนดระยะเวลาไถ่คืน ไว้เกินกว่า 10 ปีไม่ได้
          2. ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ คู่กรณีจะกำหนดระยะเวลาไถ่คืนไว้เกิน กว่า 3 ปีไม่ได้
          3. ถ้าผู้กรณีกำหนดระยะเวลาไถ่คืนไว้เกินกว่า 10 ปีหรือ 3 ปี ก็ ต้องลดลงมาเหลือ 10 ปีหรือ 3 ปีตามประเภทของทรัพย์สินไถ่ ราคาไถ่ถอนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ราคาซื้อคืนซึ่งจะต้อง เป็นเงินตราเท่านั้น
มาตราที่น่าสนใจ
          มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้นคือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ
โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้น คืนได้
มาตรา 494 ห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้น เวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
           - ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กำหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย
           - ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กำหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย
มาตรา 495 ถ้าในสัญญามีกำหนดเวลาไถ่เกินไปกว่านั้น ให้ ลดลงมาเป็นสิบปีและสามปีตามประเภททรัพย์ 
มาตรา 496 กำหนดเวลาไถ่นั้นอาจทำสัญญาขยายกำหนดเวลา ไถ่ได้ แต่กำหนดเวลาไถ่รวมกันทั้งหมด ถ้าเกินกำหนดเวลาตาม
มาตรา 494 ให้ลดลงมาเป็นกำหนดเวลาตามมาตรา 494
มาตรา 499 สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กำหนดกันไว้ว่าเท่าใด ให้ไถ่ ตามราคาที่ขายฝาก
ถ้าปรากฎในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูง กว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคา ที่ขายฝากที่แท้จริง รวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี

วิชาการสนทนาภาษาอังกฤษ

วิชาการสนทนาภาษาอังกฤษ

Unit 7 "At a supermarket"


1.  juice


2.  tofu


3.  beef


4.  chicken

5.  tomatoes


6.  bananas


7.  apples


8.  potatoes


9.  cheese


10.  butter

11.  corn


12.  eggs


13.  fish


14.  carrots


15.  pranges


16.  milk